สถานที่ที่เราเน้นในครั้งนี้คือ วัด ..ซึ่งมีทั้งแบบบนน้ำ และใต้น้ำครับ แต่ใต้น้ำผุดขึ้นมานิดเดียว
เองนะครับ ว่าจะดำลงไปสักการะแต่ก็เกรงใจคุณผู้ฟังท่านอื่น ฮ่าๆ ..คนทำบุญก็ทำกันไป ใคร
ไม่เคยเห็นความ unseen ก็หยิบกล้องมาถ่ายภาพกันไป
"วัดวังก์วิเวการาม วัดเมืองบาดาลแห่ง สังขละบุรี"
"โบสถ์วัดวังก์วิเวการาม น้องคนขับเรือบอกเราว่า
ถ้ามาช่วงหน้าร้อน เม.ย-พ.ค พื้นที่ตรงนี้ก็จะเป็นพื้นดิน สามารถเดินชมโบสถ์ได้เลยครับ"
สิ่งที่สะดุดความรู้สึกของผมมากๆเลย คืออาชีพเสริมของเด็กๆที่นั่นครับ เด็กๆที่นี่
พูดไทยได้ชัดเพราะเรียนภาษาไทยกัน มีทั้งเด็กผู้หญิงและผู้ชาย มีตั้งแต่เพื่อน พี่น้องออกมา
ช่วยกัน เด็กเล็กๆ 4-5 ขวบก็ยังมีครับ
"ความประทับใจแรกคือ เมื่อล่องเรือชมวัดใต้น้ำกันเสร็จแล้ว ก่อนที่เรือจะเทียบท่าเพื่อไปสัก
การะวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะใจกลางเขื่อน คนที่ออกมาต้อนรับคือเด็กๆกลุ่มหนึ่งจำนวน 4-8 คน
คุณๆลองนึกภาพเวลาที่คนเราจะต้องก้าวออกจากเรือนะครับ .. ใช่แล้วครับจะต้องมีคนพยุง
เด็กๆเหล่านี้ชูมือกางแขน ช่วยพวกเราทีละคนอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งมันเป็นภาพน่ารักๆ ภาพที่
หนึ่ง และแน่นอนครับ เวลาที่เราไปเที่ยวในสถานที่ที่เราไม่รู้จักหนึ่งสิ่งที่เราอยากได้ คือการ
ได้รับรู้ที่มารวมถึงประวัติคร่าวๆของสถานที่นั้นๆ ปรากฎว่าที่นี่เองก็ไม่ทำให้ผิดหวังครับ
" วัดสมเด็จ วัดเก่าแก่ที่มีความขลังมากๆครับ"
"สวัสดีค่ะ หนูชื่อน้อง เอนะคะ พวกพี่เพิ่งมาใหม่และเดินทางมาถึงหนูขออนุญาต
เป็นไกด์ให้พวกพี่ได้ไหมคะ" 31 ปีที่ผ่านมา ผมเองเพิ่งเคยได้ยินอะไรแบบนี้เป็นครั้งแรก น้อง
ที่ว่าสวมเสื้อยืด กางเกงวอร์ม และไม่ได้ใส่รองเท้า ผิวคล้ำมากซึ่งอาจจะมาจากแดด และ อายุ
เพียงแค่ 12-13 เท่านั้นครับ ความรู้สึกผมพรั่งพรูออกมาหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นความ
สงสาร เอ็นดู หรือยินดีแแทนครอบครัวของน้องเขาด้วย แต่นั่นแค่เริ่มต้นครับ
น้องเดินพาเราจากเรือขึ้นบันไดสูงชัน วนรอบวัดจนกลับมาถึงเรือ น้องเขาไม่ได้หยุดพูด
เลยครับ !! ไม่ใช่เหมือนผมที่เป็นดีเจหยิบนู่นนี่มาพูดมีสาระบ้างไม่มีบ้าง ของน้องไกด์คนนี้เป็น
ข้อมูลล้วนๆกว่า 20 นาทีที่อธิบายทุกอย่างได้คล่องปรื๋อแบบไม่มีสคริป ช็อตนี้เองที่ทำให้รู้สึก
นับถือน้องคนนี้จากใจจริง สุดท้ายกลับจากวัดก็ทิปไป 100 บาท ยืมเงินทีมงานก่อนด้วยนะ
ครับ ไม่น่าเชื่อ ..!!! คือรู้สึกว่าถ้าไม่สนับสนุนเด็กแบบนี้ ผมเองคงจะใจโหดเหี้ยมติดอันดับ
top ten ของประเทศไทยไปแล้ว
หลังจากกลับขึ้นเรือกำลังจะออกก็เป็นเด็กๆทั้งกลุ่มนั้นมาช่วยกันดันเรือออกแบบคนละไม้
คนละมือ สุดท้ายก็ไม่วาย ต้องบอกคนขับกันว่า เดี๋ยวว!! และมหกรรมการควักหาแบงค์ย่อย
แบบชุลมุนก็เกิดขึ้นครับ
ตื่นเช้าวันถัดมาไปพวกเราก็เปิดวันด้วยการตักบาตรกันที่สะพานมอญ (ฝั่งมอญ) อ่ะ เกือบจะ
ลืมไป -เอาบุญมาฝากชาวกรีนเวฟนะครับ- :)
" ทีมงานเตรียมชุดชาวมอญ เอาไว้ให้ทุกคนเลยครับ"
" นี่คือส่วนหนึ่งของคุณผู้ฟังที่น่ารักของเราครับ สวยหล่อในแบบชาวมอญคร้าบ"
คือทุกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหรือคนเยอะๆ มักจะมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราอึดอัดใจกัน นั่นก็
คือ ...การยัดเยียดขายของในแบบฉบับตื้อเท่านั้นที่ครองโลก สำหรับทุกท่านผมไม่ทราบถึง
ระดับความอึดอัดที่ว่านี้ แต่สำหรับผมมันคือความกระอักกระอ่วนชนิดที่เรียกได้ว่าสลัดหลุดได้
ยากมากเลยทีเดียวครับ แต่ปรากฎว่า ไม่มี !!! ไม่มีวี่แววของการเดินตามติด พร้อมกับ
ประโยคที่ว่า "พี่คะพี่ครับขอเงินหน่อย" "พี่ครับพี่คะช่วยซื้อหน่อย" เงียบครับ ... ประโยคแรก
ที่ผมได้ยินที่ปลายสะพานขณะที่จะข้ามกลับมาฝั่งสังขละบุรีคือ "พี่ครับ (คราวนี้เป็นเด็ก
ผู้ชาย) พี่มาท่องเที่ยวที่สะพานไม้นี้เป็นครั้งแรกรึเปล่าครับ ขออนุญาตให้ผมเป็นไกด์ให้ได้
ไหมครับ " อายุน้อยกว่าน้องเอคนเมื่อวานอีก! จำได้ว่าสิ่งแรกที่ทำเลยคือตบกระเป๋าเพื่อเช็ค
ว่ามีแบ้งค์ย่อยหรือเปล่า ยืมทีมงานบ่อยๆมันก็คงจะไม่เหมาะ ฮ่าๆ
ระหว่างทางเดินข้ามสะพานไม้ที่ยาวที่สุดที่ชื่อสะพานมอญไป ผมก็มีน้องไกด์น่ารักๆคนนี้ตาม
ไปด้วย หลักๆเลยที่เหลือก็เห็นน้องนั่งกระจุกทางนู่นบ้าง ทางนี้บ้าง 2-3 กลุ่ม เขาไม่ได้เดิน
ตามเราครับ แต่จะนั่งเฝ้าตะกร้าคนละใบ คราวนี้กลับเป็นทางฝั่งผมแทนที่เข้าไปตื้อน้อง คือ
อยากจะรู้ว่าน้องเขานั่งทำอะไรกัน .. แป้งครับ มันคือแป้งทนาคา ที่คุณๆเองอาจจะเคยเห็นกัน
มาบ้างสีเหลืองๆที่ประเทศเพื่อนเราชอบเอามาพอกหน้า พร้อมกับพิมพ์ลวดลายน่ารักๆ และมี
ทุกอย่างยกเว้นป้ายราคา กี่บาทก็แล้วแต่ทางเราจะให้

ซึ่งบอกได้เลยว่านับถือคนสอนเด็กๆที่นี่ นับถือความจริงใจความใสซื่อ และความขยันของ
เด็กๆที่นี่ อยากให้ทุกท่านถ้ามีโอสกาสมาแวะเที่ยวกันสักครั้ง ท่านจะรู้ซึ้งเลยว่าความน่ารัก
ของคนที่นี่ที่ผมได้พูดมา ไปเทียบกับของจริงไม่ได้เลยครับ ...อ้อ แล้วอย่าลืมแลกแบ้งค์ย่อย
ไปเผื่อๆเลยนะครับ ถึงเวลาถ้าคุณไม่มีเงินให้น้อง คุณอาจจะรู้สึกเสียดายมาก ๆ เลยนะครับ :)