แปลกมั้ย!!ถ้าเรายังตอบไม่ได้ว่าเรามีเป้าหมายอะไรในชีวิต ?
คำถามนี้เกิดขึ้นอย่างกระซิบกระซาบและเขินอายที่จะถาม. เป็นคำถามจากหญิงสาวหน้าตาน่ารักแถมเป็นนักเรียนนอกในวัย
จบใหม่คนหนึ่ง เราพบกันในคลาสที่เอิ้นสอนเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ในคลาสจะมีกิจกรรมที่พาผู้เรียนย้อนประสบการณ์ไป
ในอดีต อยู่กับปัจจุบัน. และจิตนากรถึงอนาคตที่เราอยากจะเป็น แล้วมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ในขณะที่พี่ๆ
ต่างแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างเมามัน
ตอนพักเบรคสาวน้อยคนนี้แอบย่องเข้ามาแล้วถามว่า
“หมอคะ แปลกมั้ยคะถ้าเราไม่รู้ว่าเป้าหมายชีวิตคืออะไร. และยังรู้สึกดีกับการที่ยังไม่มีเป้าหมาย?"
เอิ้นยิ้มอ่อน. แล้วตอบด้วยว่า “ไม่แปลกจ้า”. ไม่เชื่อถ้าคุณอ่านมาถึงตอนนี้ ก็ลองถามตัวเองดูนะคะว่า เวลาคนถามว่า
“ เป้าหมายชีวิตของคุณคืออะไร?” ทั้งที่คำถามนี้เป็นคำถามสำคัญ. บางคนตอบได้ทันที. บางคนอึ้งพักใหญ่ก่อนจะอ๋อ
แต่หลายคนยังคงค้นหา แล้วอะไรทีให้ความสามารในการค้นพบเป้าหมายชีวิตของเราแตกต่างกัน?
1.ช่วงวัย เรื่องของวัยนั้นสำคัญตรงพัฒนาการทางจิตใจ ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีอายุน้อยจะไม่สามารถตั้งเป้าหมายชีวิต
ได้นะคะ แต่อาจไม่ใช่เรื่องที่เค้าให้ความสำคัญ อย่างเช่นช่วงอายุ 20 – 30 สิ่งพัฒนาการทางจิตใจต้องการคือประสบการณ์ที่
หลากหลาย ดังนั้นสำหรับคนบางคนในช่วงวัยนี้ การที่เห็นคนอื่นมีเป้าหมายหรือการที่ถูกถามจากคนรอบกายว่าเมื่อไรจะมี
เป้าหมายชีวิตอาจเป็นสิ่งที่นาอึดอัดใจมาก เพราะลึกๆแล้วเป้าหมายชีวิตในช่วงนี้คือการค้นหาเป้าหมายไปเรื่อยๆ
2.การได้รับโอกาส บางคนแม้ว่าอายุยังไม่ได้มากแต่ก็สามารถค้นพบเป้าหมายชีวิตของตัวเองได้เร็ว นั้นเพราะเค้าอาจได้รับตัว
เร่งปฏิกิริยาที่มีชื่อว่า โอกาส เป็นโอกาสที่ทำให้รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพทางด้านไหน จะใช้ศักยภาพนั้นอย่างไร ดังนั้นหากเรา
อยากตั้งเป้าหมายชีวิตได้เร็ว หรืออยากส่งเสริมคนที่เรารักในด้านนี้ เราอาจจะต้องเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ไปพบประสบการณ์
ที่หลากหลาย พร้อมๆกับการถามตัวเองบ่อยๆว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์นั้น
3.ความเชื่อที่มีเกี่ยวกับตัวเอง บางคนแม้ว่าวัยจะล่วงเลยในการค้นหาตัวตน และมีโอกาสได้ผ่านประสบการณ์มามากมาย
ได้เห็นเค้าโครงของเป้าหมายของตัวเองแล้ว แต่ก็ไม่กล้าตั้งเป้าหมายชีวิต เพราะติดกับเสียงในหัวตัวเองที่ว่า “ฉันยังไม่ดีพอ”
“ฉันไม่เก่งพอ” “มันคงเป็นไปไม่ได้” “ถ้าทำไม่ได้จะเสียใจป่าวๆ” ถ้ากำลังติดกับข้อนี้ขอแนะนำให้เขียนจดหมายถึงตัวเองว่า
แล้วเราจะดีพอได้อย่างไร หลังจากนั้นก็ลงมือทำทันที ถ้าการลองลงมือทำครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร
4.ให้ความสำคัญกับคนอื่นก่อนเสมอ บางคนรู้ทุกอย่างว่าตัวเองต้องการอะไร ทำอะไรได้ จะมีโอกาสลงมือทำได้อย่างไรแต่ก็
ไม่กล้าที่จะตั้งเป้าหมาย เพราะเป้าหมายของเราอาจจะไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของคนที่เรารัก อย่างเช่น พ่อแม่หรือคนรัก
จึงเลือกที่จะลืมตัวเองไปก่อนเพื่อที่จะไม่ได้เจ็บปวด แต่หารู้ไม่ว่านั่นคือระเบิดเวลาในการเก็บกดความต้องการ ดังนั้นแนะนำ
ให้สื่อสารเพื่อหาพื้นที่ตรงกลาง หรือสุดท้ายแม้ว่าเราจะเลือกลืมเป้าหมายของตัวเองเพื่อคนที่เรารัก ก็จงอย่างลืมว่าเรานั้นเป็น
คนเสียสละมากแค่ไหน
5.สภาพแวดล้อม บางคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขัดแย้งหรือมีความเครียดอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีโอกาสที่จะอยู่กับตัวเอง
อย่างสงบ เพราะต้องวุ่นวายกับการหาทางรอดในแต่ละวัน โอกาสที่เราจะมองเห็นเป้าหมายชีวิตของเราในระยะไกลก็จะลดลง
6.การมีหลายหลากทางเลือกจนเกินไป เรามักจะทุกข์ในเวลาที่เรารู้สึกว่าเราไม่มีทางเลือก แต่เราลืมว่าการมีทางเลือกมากเกิน
ไปก็เป็นความทุกข์ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังหมุนเร็วด้วยเทคโนโลยี ข้อมูลที่มหาศาล การสื่อสารที่เป็นไวรอล
เพราะการที่เรามีทางเลือกมากจนเกินไป จะทำให้เรายิ่งไม่กล้าเลือก เพราะโอกาสในการเลือกผิดก็จะสูงตามไปด้วย เพราะ
ธรรมชาติของใจเรา เราต้องการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง แต่เมื่อไรที่เราไม่เลือกว่าเราจะทำอะไร ทำที่ไหน ทำกับใคร เราก็
จะไม่มีโอกาสที่จะประสบควาสำเร็จในเรื่องนั้น สำหรับคนที่ยังไม่มีเป้าหมายแล้วอยากลองค้นหา ลองสังเกตตัวเองนะคะว่า
อะไรที่มาบังตาทำให้เรามองไม่เห็นเป้าหมายของการเดินทางในชีวิต
ครั้งหน้า. มาพบกับ 5 คำถามสำคัญที่ควรตอบให้ได้ถ้าอยากตั้งเป้าหมายในชีวิตในปี 2020
ด้วยรักและปรารถนาดี By หมอเอิ้นพิยะดา Unlocking Happiness